รวบรวมคำถามที่พบบ่อยในรูปแบบ Q&A
ไม่รู้ว่าบุคคลแบบไหนสมัครเข้าร่วมโครงการบ้าง
สาขา Disruptive Challenge รับสมัครผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ที่มาพร้อมความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลง และต่อยอดทางด้านเทคโนโลยี ICT โดยไม่กลัวความล้มเหลว
โครงการ INNOvation บ้า - กล้า - คิด เปิดรับสมัครแบบองค์กรหรือเป็นกลุ่มหรือไม่
สมัครได้ทั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม กรุณาตรวจสอบเงื่อนไขการสมัครก่อนดำเนินการสมัคร
・จะต้องเป็นผู้นำเสนอประเด็นปัญหาทางด้านเทคโนโลยี และลงมือท้าทายแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีดังกล่าวด้วยตนเอง ในกรณีที่ดำเนินการร่วมกันหลายคน บทบาทหน้าที่ของแต่ละคนจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน
・ในกรณีที่ผู้สมัครสังกัดองค์กรหรือหน่วยงานใด ๆ จะต้องนำส่งใบอนุมัติจากองค์กรหรือหน่วยงานที่สังกัด
ทำงานอยู่ในบริษัท แต่ทางบริษัทไม่สนับสนุนให้สมัครเข้าร่วมโครงการ หากผ่านคัดเลือกรอบสุดท้าย ควรจะลาออกจากงานใช่ไหม
ในกรณีที่ผู้สมัครสังกัดองค์กรหรือหน่วยงานใด ๆ จะต้องนำส่งใบอนุมัติจากองค์กรหรือหน่วยงานที่สังกัดหลังผ่านการคัดเลือก ทางสำนักบริหารโครงการพร้อมให้ความช่วยเหลือในกรณีที่จำเป็นต้องประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานในสังกัดเพื่อออกใบอนุมัติ
เคยสมัครโครงการมาแล้ว สามารถสมัครซ้ำในปีนี้ได้หรือไม่ และสามารถนำเสนอประเด็นปัญหาที่เป็นการดำเนินการต่อจากไอเดียเดิมได้หรือไม่
สามารถสมัครได้ กรุณาตรวจสอบเงื่อนไขการสมัครก่อนดำเนินการสมัคร
มีไอเดียดี ๆ แต่ไม่มีความสามารถในการพัฒนาด้านเทคโนโลยี กรณีแบบนี้สามารถสมัครได้ไหม
เงื่อนไขในการสมัครคือ
・ ต้องเป็นผู้นำเสนอประเด็นปัญหาทางด้านเทคโนโลยี และลงมือท้าทายแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีดังกล่าวด้วยตนเอง ในกรณีที่ดำเนินการร่วมกันหลายคน บทบาทหน้าที่ของแต่ละคนจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน
・ มีความรับผิดชอบในการดำเนินการให้บรรลุล่วงผ่านระยะเวลาการท้าทายทุกช่วง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง
ดังนั้น สามารถสมัครเป็นกลุ่มได้โดยร่วมมือกับผู้ที่มีความสามารถในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อทำให้ไอเดียของคุณเป็นจริง
ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้สมัครเข้าโครงการนี้ต้องอยู่ใน "สาขา ICT" ใช่หรือไม่
เป็นเนื้อหาแบบใดก็ได้ แต่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสาขา ICT อาจเกี่ยวข้องในลักษณะ "ใช้วิธีการของ ICT" "ใช้งาน ICT" หรือ "ใช้งานส่วนประกอบของ ICT" ก็ได้
คำจำกัดความของ ICT ครอบคลุมแค่ไหน
ปัจจุบันแทบไม่มีสาขาใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ICT กรุณามองขอบเขตให้กว้างโดยไม่ยึดติดกับคำจำกัดความ
ข้อเสนอแนะที่ "ไม่สามารถดำเนินการได้จริงภายในระยะเวลาพัฒนาเทคโนโลยีของโครงการ" สามารถสมัครได้หรือไม่
โครงการนี้จัดตั้งเพื่อสนับสนุนการท้าทายเพื่อต่อยอดไอเดีย เปิดรับสมัครไอเดีย ณ ขณะนี้
ในกรณีที่ไอเดียเริ่มเป็นรูปเป็นร่างบ้างแล้วก่อนสมัคร จะสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้หรือไม่
สามารถสมัครได้โดยนำเสนอไอเดียส่วนที่เป็นรูปเป็นร่างว่าจะสามารถแก้ปัญหาอะไรได้อย่างเป็นรูปธรรม
จดสิทธิบัตรและมีตัวอย่างชิ้นงานแล้ว แต่ไม่มีงบประมาณในการโปรโมต สามารถสมัครเพื่อใช้เงินสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในการโปรโมตงานได้หรือไม่
โครงการนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์สู่สาธารณชน ดังนั้นจึงไม่รับไอเดียที่สมัครเข้ามาเพื่อโปรโมตผลงานเท่านั้น แต่หากเป็นกรณีของบุคคลที่ "มุ่งใช้เงินสนับสนุนในการพัฒนาเทคโนโลยีของโครงการนี้ไปต่อยอดผลลัพธ์ที่เริ่มมีไอเดียอยู่แล้วส่วนหนึ่ง" ทางโครงการพร้อมรับ
สามารถสมัครได้คนละ 1 ประเด็นหัวข้อเท่านั้นหรือเปล่า
ในขั้นตอนการสมัคร ผู้สมัครสามารถสมัครได้ทั้ง 2 สาขาและนำเสนอประเด็นหัวข้อกี่เรื่องก็ได้ (โดยไม่จำกัดวิธีการ) ในกรณีดังกล่าว กรุณาแยกใบสมัครแต่ละใบต่อ 1 ประเด็นปัญหา และนำส่งใบสมัครหลายครั้งตามที่ต้องการ
ในแบบฟอร์มสมัครไม่มีหัวข้อให้ระบุวิธีการใช้เงินสนับสนุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี จะไม่มีการซักถามในประเด็นนี้ระหว่างขั้นตอนการรับสมัครใช่หรือไม่
ผู้สมัครอาจเลือกชี้แจงวิธีการใช้เงินสนับสนุนเพื่ออธิบายว่าตนเองจะท้าทายการพัฒนาเทคโนโลยีด้วยวิธีการอย่างไร กรุณาระบุข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมในขอบเขตที่สามารถระบุได้จะดีที่สุด
ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไฟล์เนื้อหาการพัฒนาเทคโนโลยี ควรทำอย่างไร
สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมไฟล์ระหว่างระยะเวลาการเปิดรับสมัครได้ (กรุณาดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางอีเมล) แต่ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหลังสิ้นสุดระยะเวลารับสมัครทุกกรณี
ทางโครงการจะส่งคืนเอกสารเพิ่มเติมที่ใช้สมัครไปหรือไม่
ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเอกสารที่ได้รับในขั้นตอนการสมัคร สำนักบริหารโครงการจะบริหารจัดการเอกสารที่ได้รับอย่างเข้มงวดตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ และรับผิดชอบในการทำลายเอกสาร (บดละเอียดหรือขจัดด้วยความร้อน) หลังสิ้นสุดโครงการเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
ต้องการนำเสนอไอเดียซึ่งจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่สมัครด้วยตนเอง จะต้องดำเนินการเรื่องการเก็บรักษาความลับอย่างไรบ้าง
สำนักบริหารโครงการ และผู้ดูแลโครงการ (supervisor) ดำเนินการคัดเลือกภายใต้เงื่อนไขสัญญาที่ระบุว่า ห้ามเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับในขั้นตอนการคัดเลือกสู่ภายนอก ดังนั้น จะไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลความลับสู่ภายนอกระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกโดยเด็ดขาด หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการคัดเลือก จะมีการบันทึกข้อเท็จจริงทั้งหมดเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของผู้สมัคร
ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการคัดเลือกและเกณฑ์การประเมินของโครงการ
การคัดเลือกในโครงการนี้เน้นให้ความสำคัญกับ "ความท้าทายด้วยความมุ่งมั่นที่จะฝ่าฟันประเด็นปัญหาซึ่งไม่มีใครคาดคิดมาก่อน" มากกว่าประสบการณ์หรือศักยภาพที่ผ่านมา โครงการนี้วางสมมติฐานไว้ว่า ผลลัพธ์ของโครงการจะประสบความสำเร็จ หรือหากพบกับความผิดพลาด และความผิดพลาดดังกล่าวช่วยให้เส้นทางต่อไปชัดเจนขึ้น ก็จะได้รับการประเมินอย่างดี
เกณฑ์การประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความเป็นเอกลักษณ์
มีไอเดียหรือจุดเด่นที่สอดคล้องต่อการท้าทายประเด็นปัญหาด้านเทคโนโลยีเชิงพลิกผัน
ความมุ่งมั่นขวนขวาย
มีทัศนคติที่ต้องการมุ่งมั่นขวนขวายด้วยตนเอง โดยไม่เรียกร้องหาหลักฐานหรือเหตุผลจากผู้อื่น
ความตระหนักชัดเจน
ตระหนักอย่างชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ต้องการท้าทาย ทั้งความเป็นไปได้ จุดที่เป็นปัญหา มาตรการแก้ไขปัญหา และขอบเขตที่ยังไม่รู้จักมาก่อน
จิตวิญญาณที่ไม่ย่อท้อ
มีความแน่วแน่ต่อประเด็นปัญหาที่ต้องการท้าทาย และมีจิตใจเข้มแข็ง พร้อมท้าทายอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ
จะได้รับ feedback จากผลการคัดเลือกหรือไม่
ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่แจ้งเหตุผลที่ไม่ผ่านการคัดเลือก แต่จะแจ้งรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกกลับไปยังอีเมลที่ผู้สมัครลงทะเบียนไว้
ในกรณีที่ไม่เกิดผลสำเร็จ จะเป็นอย่างไร
โครงการนี้มิได้มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่เกิดผลสำเร็จ แต่จำเป็นต้องมีผลลัพธ์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นถูกนำไปท้าทายต่อด้วยความตั้งใจอย่างไร
มีการกำหนดเกณฑ์ประเมินผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายอย่างชัดเจนหรือไม่ เช่น มีการกำหนดไหมว่า ต้องประสบความสำเร็จในเรื่องใด
ทางโครงการจะประเมินในภาพรวมว่า แนวทางสู่การปฏิบัติ (ความสำเร็จ) ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ โดยพิจารณาจากดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยี ในกรณีที่แนวทางหรือทิศทางเริ่มชัดเจนขึ้นจากการเรียนรู้ความผิดพลาด จะได้รับคะแนนประเมินสูง ในทางกลับกัน ประเด็นปัญหาที่คลุมเครือจะได้รับคะแนนประเมินต่ำ
สามารถขอรับค่าแรงสำหรับ 1 ปีเพื่อทุ่มเทให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีได้หรือไม่
เป็นไปได้ ทางโครงการจะค้นหารูปแบบเพื่อสนับสนุนผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายแต่ละคนอย่างเหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ต้องการชำระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรให้กับหน่วยงานที่ผู้สมัครสังกัด ทางโครงการจะคำนวณค่าใช้จ่ายโดยอ้างอิงจากรายได้ในปีที่ผ่านมาของผู้รับเงิน (มิได้คำนวณเทียบมูลค่าสูงสุดในการซื้อผลงานการพัฒนา เพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา) นอกจากนี้ ผู้สมัครจะต้องจัดส่งบันทึกประจำวันและบันทึกเวลาพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดำเนินการจ่ายตามชั่วโมงการทำงาน
ในกรณีที่ซื้อของด้วยเงินสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ใครจะเป็นเจ้าของหลังสิ้นสุดระยะเวลาพัฒนาเทคโนโลยี
ทางโครงการจะพิจารณาเป็นรายกรณีโดยตรวจสอบรายละเอียดการพัฒนาเทคโนโลยี รายละเอียดการซื้อสิ่งของ และจุดประสงค์ในการซื้อ
ไม่เพียงแต่การซื้อสิ่งของเท่านั้น วิธีการใช้เงินสนับสนุนทั้งหมดในโครงการนี้จะถูกพิจารณาแยกเป็นรายกรณีตามรายละเอียดของผู้สมัครแต่ละคน (รูปแบบ order made)
อย่างไรก็ตาม การซื้อของด้วยเงินสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารจะต้องเป็นไปตามระเบียบการใช้กองทุนเพื่อการแข่งขัน และจะกลายเป็นสินทรัพย์ของรัฐหลังสิ้นสุดระยะเวลาพัฒนาเทคโนโลยี ยกเว้นกลุ่มสินค้าสิ้นเปลือง
ค่าใช้จ่ายด้านสิทธิบัตรและทนายความรวมอยู่ในขอบเขตเงินสนับสนุนสูงสุด 3 ล้านเยนหรือไม่
รวมเรียบร้อยแล้ว แต่สำนักบริหารโครงการจะให้การสนับสนุนด้านบุคลากรในการยื่นขอสิทธิบัตร
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการประชุมหารือรวมอยู่ในเงินสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีหรือไม่
ทางโครงการจะพิจารณาเป็นรายกรณีขึ้นอยู่กับรายละเอียดค่าใช้จ่ายและวิธีการเข้าร่วม สำนักบริหารโครงการจะสนับสนุนผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายด้วยวิธีการที่ดีที่สุด
สามารถนำเทคโนโลยีที่ผ่านการพัฒนาในโครงการนี้ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และวางจำหน่ายได้หรือไม่
สามารถทำได้ เงื่อนไขสำคัญที่สุดของโครงการนี้คือ "ลิขสิทธิ์ของผลงานจะกลับคืนสู่ผู้สร้างสรรค์" ดังนั้น คุณสามารถคาดการณ์ได้ว่า จะใช้สิทธิ์ดังกล่าวด้วยตนเอง และพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยร่วมมือกับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน เมื่อเป็นเช่นนั้น ลิขสิทธิ์อาจถูกถ่ายโอนไปเป็นขององค์กรผู้สนับสนุน แต่สำนักบริหารโครงการจะดำเนินการสนับสนุนด้านบุคลากรและทุนทรัพย์อย่างเต็มที่เพื่อให้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาคงอยู่กับผู้พัฒนา
กังวลว่าจะมีใครเห็นไอเดียของตัวเองในโครงการนี้ แล้วนำไปใช้ต่อโดยพลการ
สำนักบริหารโครงการ และผู้ดูแลโครงการ (supervisor) ดำเนินการคัดเลือกภายใต้เงื่อนไขสัญญาที่ระบุว่า ห้ามเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับในขั้นตอนการคัดเลือกสู่ภายนอก ดังนั้น จะไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลความลับสู่ภายนอกระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกโดยเด็ดขาด และจะไม่เปิดเผยข้อมูลให้กลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนหากไม่ได้รับการยินยอมจากผู้สมัคร จะไม่มีการขโมยไอเดียอย่างแน่นอน แต่บ่อยครั้งที่ไอเดียบางประการมีความคล้ายคลึงกับไอเดียที่คนอื่นคิดอยู่เช่นกัน "ประวัติการนำเสนอไอเดียต่อกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร" จึงเป็นข้อรับประกันให้กับผู้สมัคร และในกรณีที่เกิดความร่วมมือกับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน จะมีการบันทึกเพื่อระบุการเปิดเผยข้อมูล เพื่อเป็นหลักฐานเกี่ยวกับไอเดียที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการ
ไอเดียของผู้สมัครทั้งหมดจะถูกเปิดเผยต่อกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนใช่ไหม
ทางโครงการจะไม่เปิดเผยข้อมูลให้กลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนหากไม่ได้รับการยินยอมจากผู้สมัคร และจะตรวจสอบกับผู้สมัครเสมอก่อนเปิดเผยข้อมูล
มีการเซ็นสัญญา NDA (สัญญาปกปิดความลับ) กับองค์กรผู้สนับสนุนหรือไม่
สำนักบริหารโครงการมีการเซ็นสัญญา NDA กับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน และขอแนะนำให้ผู้สมัครทำสัญญา NDA ส่วนตัวกับแต่ละองค์กรในขั้นตอนการจับคู่เจรจาทางธุรกิจในกรณีที่จำเป็น
กลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนน่าจะเข้าร่วมโครงการนี้โดยมุ่งหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจ เมื่อเป็นเช่นนั้น ขั้นตอนการคัดเลือกจะดำเนินไปอย่างไร
สำนักบริหารโครงการได้ดำเนินการคัดเลือกองค์กรผู้สนับสนุนที่มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างถ่องแท้ และประเมินแล้วว่าเป็นองค์กรที่มีศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จากนั้นจึงทำสัญญา NDA (สัญญาปกปิดความลับ) กับแต่ละองค์กร ขอแนะนำให้ผู้สมัครทำสัญญา NDA ส่วนตัวกับแต่ละองค์กรในขั้นตอนการจับคู่เจรจาทางธุรกิจ
ถ้าต้องการเข้าร่วมเป็นกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน ต้องทำอย่างไร
inno_vation*ml.soumu.go.jp (โปรดติดต่อเราโดยแทนที่ * ด้วย @)
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน
ถ้าต้องการสมัครในนามบริษัท ควรทำอย่างไร
ขอให้เป็นดุลยพินิจของบริษัท ในกรณีที่มีผู้สมัครอยู่ในองค์กร ขอความกรุณาช่วยสนับสนุน และสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้สมัครสามารถทุ่มเทกับการพัฒนาเทคโนโลยีได้
ทางโครงการมีระบบกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน ไม่ทราบว่ามีการจัดเตรียมระบบอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับโอกาสทางธุรกิจในอนาคตอีกหรือไม่
โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในฐานะส่วนหนึ่งของระบบกองทุนสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของรัฐ (กองทุนเพื่อการแข่งขัน) ส่วนกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนคือกลไกที่เพิ่มเข้ามาเพื่อขยายขอบเขตการประยุกต์ใช้ระบบกองทุนเพื่อการแข่งขันดังกล่าว กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารสนับสนุนเงินสูงสุดจำนวน 3 ล้านเยน และมอบทรัพย์สินทางปัญญากลับคืนให้กับผู้พัฒนา หลังจากสิ้นสุดโครงการนี้ ผู้พัฒนาสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้
พอได้ยินว่ามีกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน ก็รู้สึกว่าผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายต้องมอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นให้กับองค์กรดังกล่าว จำเป็นต้องทำแบบนั้นหรือไม่
แม้จะเกิดความร่วมมือกับองค์กร แต่ "ผลลัพธ์ที่เกิดจากการท้าทายประเด็นปัญหาจะกลับคืนสู่บุคคลผู้นั้น" หรือสรุปได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของผู้พัฒนาเทคโนโลยี ในกรณีที่เกิดปัญหา กระทรวงกิจการภายในประเทศและสำนักบริหารโครงการ (ซึ่งมีนักกฎหมายอยู่ด้วย) จะเป็นผู้ดำเนินการปกป้องผู้พัฒนาเทคโนโลยี สำนักบริหารโครงการจะสร้างระบบสนับสนุนเพื่อให้ผู้พัฒนาเทคโนโลยีประสานงานกับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนได้อย่างอิสระเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมในการท้าทายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป
มีแนวคิดเรื่องทรัพย์สินทางปัญหาอย่างไร
・ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงธุรกิจ เมื่อพิจารณาการต่อยอดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นจากงบประมาณของรัฐอย่างเหมาะสม ทรัพย์สินดังกล่าวถือเป็นของรัฐชั่วระยะเวลาหนึ่งตามแนวคิดในสัญญาว่าจ้างงานตามประมวลกฎหมายแพ่ง แต่สัญญาระหว่างกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารกับสำนักบริหารโครงการ รวมถึงสัญญาระหว่างสำนักบริหารโครงการกับผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายระบุให้คืนทรัพย์สินกลับคืนสู่เจ้าตัว ตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติการส่งเสริมเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มาตราที่ 19 (กฎหมายฉบับที่ 44 วันที่ 19 เมษายน 2002)
・อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่สามารถคืนทรัพย์สินทางปัญญาให้กับเจ้าตัวเพียงคนเดียวได้เนื่องจากติดเงื่อนไขในสัญญาระหว่างผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายกับหน่วยงานที่สังกัด (เช่น สัญญาจ้างงาน) ทางโครงการจะดำเนินการตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการคัดเลือกและเกณฑ์การประเมินของโครงการ
ทางโครงการจะประเมินผลร่วมกับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนโครงการ INNOvation บ้า - กล้า - คิด โดยพิจารณาจากข้อเสนอแนะที่
สมัครเข้ามา
・โดยความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวอาจจะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หลายคนมองข้าม เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกค้นพบในชีวิตประจำวันที่
・คุณต้องการแก้ไข หรือเป็นเทคโนโลยีที่คุณใส่ใจประณีตสร้างขึ้นมาที่แม้ตัวคุณเองก็ยังไม่ทราบว่าสุดท้ายแล้วมันจะถูกนำไปใช้ในรูป
・แบบใดก็ตาม
โดยใช้เกณฑ์ประเมินของแต่ละองค์กรเอง
โครงการ INNOvation บ้า - กล้า - คิด เปิดรับสมัครแบบองค์กรหรือเป็นกลุ่มหรือไม่
สมัครได้ทั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม กรุณาตรวจสอบเงื่อนไขการสมัครก่อนดำเนินการสมัคร
ทำงานอยู่ในบริษัท แต่ทางบริษัทไม่สนับสนุนให้สมัครเข้าร่วมโครงการ หากผ่านคัดเลือกรอบสุดท้าย ควรจะลาออกจากงานใช่ไหม
ในกรณีที่ผู้สมัครสังกัดองค์กรหรือหน่วยงานใด ๆ กรุณาดำเนินการสมัครหลังได้รับคำอนุญาตเรียบร้อยแล้ว
เคยสมัครโครงการมาแล้ว สามารถสมัครซ้ำในปีนี้ได้หรือไม่ และสามารถนำเสนอประเด็นปัญหาที่เป็นการดำเนินการต่อจากไอเดียเดิมได้หรือไม่
สามารถสมัครได้ กรุณาตรวจสอบเงื่อนไขการสมัครก่อนดำเนินการสมัคร
มีไอเดียดี ๆ แต่ไม่มีความสามารถในการพัฒนาด้านเทคโนโลยี กรณีแบบนี้สามารถสมัครได้ไหม
แค่มีเพียงไอเดีย ก็สามารถสมัครในสาขา Generation Award ได้ และสามารถค้นหาพาร์ทเนอร์ผู้ร่วมพัฒนาในระบบการจับคู่เจรจาธุรกิจได้
ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้สมัครเข้าโครงการนี้ต้องอยู่ใน "สาขา ICT" ใช่หรือไม่
เป็นเนื้อหาแบบใดก็ได้ แต่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสาขา ICT อาจเกี่ยวข้องในลักษณะ "ใช้วิธีการของ ICT" "ใช้งาน ICT" หรือ "ใช้งานส่วนประกอบของ ICT" ก็ได้
คำจำกัดความของ ICT ครอบคลุมแค่ไหน
ปัจจุบันแทบไม่มีสาขาใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ICT กรุณามองขอบเขตให้กว้างโดยไม่ยึดติดกับคำจำกัดความ
ในกรณีที่ไอเดียดังกล่าวเริ่มเป็นรูปเป็นร่างบ้างแล้วก่อนดำเนินการสมัคร จะยังสมัครเข้าร่วมโครงการได้หรือไม่
ลองสมัครโดยนำเสนอส่วนที่เป็นรูปเป็นร่างแล้วและไอเดียในส่วนที่เหลือ
สามารถสมัครได้คนละ 1 ประเด็นหัวข้อเท่านั้นหรือเปล่า
ในขั้นตอนการสมัคร ผู้สมัครสามารถสมัครได้ทั้ง 2 สาขาและนำเสนอประเด็นหัวข้อกี่เรื่องก็ได้ (โดยไม่จำกัดวิธีการ) ในกรณีดังกล่าว กรุณาแยกใบสมัครแต่ละใบต่อ 1 ประเด็นปัญหา และนำส่งใบสมัครหลายครั้งตามที่ต้องการ
ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไฟล์เนื้อหาการพัฒนาเทคโนโลยี ควรทำอย่างไร
สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมไฟล์ระหว่างระยะเวลาการเปิดรับสมัครได้ (กรุณาดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางอีเมล) แต่ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหลังสิ้นสุดระยะเวลารับสมัครทุกกรณี
ทางโครงการจะส่งคืนเอกสารเพิ่มเติมที่ใช้สมัครไปหรือไม่
ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเอกสารที่ได้รับในขั้นตอนการสมัคร สำนักบริหารโครงการจะบริหารจัดการเอกสารที่ได้รับอย่างเข้มงวดตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ และรับผิดชอบในการทำลายเอกสาร (บดละเอียดหรือขจัดด้วยความร้อน) หลังสิ้นสุดโครงการเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
ต้องการนำเสนอไอเดียซึ่งจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่สมัครด้วยตนเอง จะต้องดำเนินการเรื่องการเก็บรักษาความลับอย่างไรบ้าง
สำนักบริหารโครงการ และกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนดำเนินการคัดเลือกภายใต้เงื่อนไขสัญญาที่ระบุว่า ห้ามเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับในขั้นตอนการคัดเลือกสู่ภายนอก ดังนั้น จะไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลความลับสู่ภายนอกระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกโดยเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม เนื้อหาที่สมัครเข้ามาจะถูกเปิดเผยต่อกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน หากต้องการเก็บรักษาข้อมูลเป็นความลับ กรุณาอย่าสมัครเข้าร่วมโครงการ
ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการคัดเลือกและเกณฑ์การประเมินของโครงการ
ทางโครงการจะประเมินผลร่วมกับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนโครงการ INNOvation บ้า - กล้า - คิด โดยพิจารณาจากข้อเสนอแนะที่
สมัครเข้ามา
・โดยความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวอาจจะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หลายคนมองข้าม เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกค้นพบในชีวิตประจำวันที่
・คุณต้องการแก้ไข หรือเป็นเทคโนโลยีที่คุณใส่ใจประณีตสร้างขึ้นมาที่แม้ตัวคุณเองก็ยังไม่ทราบว่าสุดท้ายแล้วมันจะถูกนำไปใช้ในรูป
・แบบใดก็ตาม
โดยใช้เกณฑ์ประเมินของแต่ละองค์กรเอง
จะได้รับ feedback จากผลการคัดเลือกหรือไม่
ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่แจ้งเหตุผลที่ไม่ผ่านการคัดเลือก แต่จะแจ้งรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกกลับไปยังอีเมลที่ผู้สมัครลงทะเบียนไว้
สามารถนำเทคโนโลยีที่ผ่านการพัฒนาในโครงการนี้ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และวางจำหน่ายได้หรือไม่
สามารถทำได้ เงื่อนไขสำคัญที่สุดของโครงการนี้คือ "ลิขสิทธิ์ของผลงานจะกลับคืนสู่ผู้สร้างสรรค์" ดังนั้น คุณสามารถคาดการณ์ได้ว่า จะใช้สิทธิ์ดังกล่าวด้วยตนเอง และพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยร่วมมือกับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน เมื่อเป็นเช่นนั้น ลิขสิทธิ์อาจถูกถ่ายโอนไปเป็นขององค์กรผู้สนับสนุน แต่สำนักบริหารโครงการจะดำเนินการสนับสนุนด้านบุคลากรและทุนทรัพย์อย่างเต็มที่เพื่อให้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาคงอยู่กับผู้พัฒนา
กังวลว่าจะมีใครเห็นไอเดียของตัวเองในโครงการนี้ แล้วนำไปใช้ต่อโดยพลการ
สำนักบริหารโครงการ และกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนดำเนินการคัดเลือกภายใต้เงื่อนไขสัญญาที่ระบุว่า ห้ามเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับในขั้นตอนการคัดเลือกสู่ภายนอก ดังนั้น จะไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลความลับสู่ภายนอกระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกโดยเด็ดขาด เนื้อหาที่สมัครเข้ามาจะถูกเปิดเผยต่อกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน หากต้องการเก็บรักษาข้อมูลเป็นความลับ กรุณาอย่าสมัครเข้าร่วมโครงการ
ไอเดียของผู้สมัครทั้งหมดจะถูกเปิดเผยต่อกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนใช่ไหม
กลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนทำหน้าที่คัดเลือกผู้ได้รับรางวัล ข้อมูลทั้งหมดจึงถูกเปิดเผยต่อกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน
มีการเซ็นสัญญา NDA (สัญญาปกปิดความลับ) กับองค์กรผู้สนับสนุนหรือไม่
ไม่มีการเซ็นสัญญา NDA เรื่องทรัพย์สินทางปัญหาในขั้นตอนการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัล
กลุ่มองค์กรผู้สนับสนุนน่าจะเข้าร่วมโครงการนี้โดยมุ่งหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจ เมื่อเป็นเช่นนั้น ขั้นตอนการคัดเลือกจะดำเนินไปอย่างไร
สำนักบริหารโครงการได้ดำเนินการคัดเลือกองค์กรผู้สนับสนุนที่มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างถ่องแท้ และประเมินแล้วว่าเป็นองค์กรที่มีศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จากนั้นจึงทำสัญญา NDA (สัญญาปกปิดความลับ) กับแต่ละองค์กร ขอแนะนำให้ผู้สมัครทำสัญญา NDA ส่วนตัวกับแต่ละองค์กรในขั้นตอนการจับคู่เจรจาทางธุรกิจ
ถ้าต้องการเข้าร่วมเป็นกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน ต้องทำอย่างไร
inno_vation*ml.soumu.go.jp (โปรดติดต่อเราโดยแทนที่ * ด้วย @)
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน
ถ้าต้องการสมัครในนามบริษัท ควรทำอย่างไร
ขอให้เป็นดุลยพินิจของบริษัท ในกรณีที่มีผู้สมัครอยู่ในองค์กร ขอความกรุณาช่วยสนับสนุน และสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้สมัครสามารถทุ่มเทกับการพัฒนาเทคโนโลยีได้
ทางโครงการมีระบบกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน ไม่ทราบว่ามีการจัดเตรียมระบบอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับโอกาสทางธุรกิจในอนาคตอีกหรือไม่
หากมองว่าการได้รับรางวัลถือเป็น "การประชาสัมพันธ์" ธุรกิจรูปแบบหนึ่ง การสมัครเพื่อร่วมคัดเลือกรับรางวัลก็สามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาทางธุรกิจได้
มีแนวคิดเรื่องทรัพย์สินทางปัญหาอย่างไร
ทางโครงการจะเปิดเผยข้อมูลที่สมัครเข้ามากับกลุ่มองค์กรผู้สนับสนุน หากต้องการเก็บเป็นความลับ กรุณาอย่าสมัครเข้าร่วมโครงการ